Proximity Switch

Last updated: 10 Mar 2020  |  2535 Views  | 

Proximity Switch

ระยะตรวจจับของ Proximity Switch
ระยะตรวจจับคืออะไร ?

ระยะตรวจจับ คือระยะที่เมื่อวัตถุเคลื่อนที่เข้าไปใกล้ด้านหน้าของส่วนตรวจจับแล้วส่งผลทำให้สัญญาณเกิดการเปลี่ยนแปลง (On-Off) โดยปกติแล้วเราจะพิจารณาค่าระยะตรวจจับอยู่ 2 ค่า คือ
Normal Sensing Distance (Sn) คือค่าระยะการตรวจจจับที่กำหนด โดยไม่คิดรวมถึงผลคลาดเคลื่อนที่จะเกิดขึ้นเมื่อใช้งาน เช่น ผลกระทบจากอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง , ผลกระทบจากแรงดันไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลง เป็นต้น
Real Sensing Distance (Sr) คือระยะการตรวจจับจริงที่วัดได้ เมื่อใช้กับแหล่งจ่ายไฟ และอุณหภูมิตามแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วงที่กำหนด โดยระยะ Sr จะมีค่าอยู่ในช่วง +/- 10% ของระยะ Sn

ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะตรวจจับ
ขนาดของวัตถุ ถ้าวัตถุเป้าหมายมีขนาดเล็ก ระยะตรวจจับจะใกล้กว่าวัตถุเป้าหมายที่มีขนาดใหญ่กว่า เนื่องจากขนาดของวัตถุมีผลต่อการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า
ชนิดของวัตถุที่ตรวจจับ ระยะตรวจจับจะใกล้หรือไกลขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุที่ตรวจจับด้วย โดยวัตถุที่ถูกตรวจจับแต่ละชนิดจะมีตัวคูณ (FACTOR) ที่แตกต่างกันไป

ข้อดีของการเพิ่มระยะตรวจจับให้ไกลขึ้น
เพิ่มเสถียรภาพ สร้างความมั่นใจว่าจะสามารถตรวจจับได้อย่างแน่นอน
พื้นที่การติดตั้งจำกัด ไม่สามารถติดตั้ง Proximity Switch ตัวใหญ่ได้ แต่อยากได้ระยะตรวจจับเพิ่มขึ้น ก็สามารถใช้รุ่นเพิ่มระยะตรวจจับติดตั้งได้
ในกรณีที่ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขของการตรวจจับ แล้วต้องการระยะตรวจจับที่มากขึ้น ก็สามารถนำรุ่นขยายการตรวจจับนี้ไปติดตั้งแทนตัวเดิมได้ทันที

Related content

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy